4.3 การทำข้อมูลให้เป็นภาพอย่างเหมาะสม
4.3 การทำข้อมูลให้เป็นภาพอย่างเหมาะสม
4.3 การทำข้อมูลให้เป็นภาพอย่างเหมาะสม
การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพไม่ได้จำกัดเฉพาะการใช้รูปแบบมาตรฐานที่กล่าวมาเท่านั้น ยังสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ให้น่าสนใจได้อีก การนำเสนอข้อมูลให้เป็นภาพที่น่าสนใจและเข้าใจง่ายจะใช้หลักการมองเห็นและการรับรู้ของ จาคส์ เบอร์ติน (Jacques Bertin) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Information Visualization) โดยกำหนดตัวแปร (Visual Variables) ในการมองเห็นไว้ 7 ตัวแปร คือ 1. ตำแหน่ง 2.ขนาด 3.รูปร่าง 4.ความเข้ม 5.สี 6.ทิศทาง 7.ลวดลาย ดังรูปที่ 4.7 แสดงค่าของตัวแปรในการมองเห็น
การเลือกใช้ตัวแปรในการมองเห็นเพื่อสร้างภาพจากข้อมูลจะใช้ลักษฯะเฉพาะ (characteristic) ที่ต้องการเน้นได้แก่ การสร้างความโดดเด่น การจัดกลุ่ม การบ่งปริมาณ และการแสดงลำดับโดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การสร้างความโดดเด่น (selective) เพื่อให้ผู้รับสารมุ่งตรงไปยังข้อมูลที่ต้องการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้สีและความเข้มทำให้ผู้รับสารสามารถหาเลข 3 จากรูปที่ 4.8 (ข) ได้เร็วกว่า 4.8 (ก) มาก
2. การจัดกลุ่ม (associative) เพื่อแสดงการแบ่งกลุ่มของข้อมูลรูปที่ 4.9 แสดงข้อมูลการจัดกลุ่มจังหวัดตามภาคโดยใช้สีต่างกัน และแสดงข้อมูลหลัก ข้อมูลเมืองรองในแต่ละภาคด้วยความเข้มของสีต่างกันโดยเมืองหลักใช้สีจางกว่าเมืองรองเพราะแผนภาพนี้ใช้เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง
3. การบ่งปริมาณ (quantitative) เพื่อให้ผู้รับสารสนใจและรับรู้ได้อย่างรวดเร็วตรงจุดที่ต้องการให้เห็นสำหรับแสดงข้อมูลในเชิงปริมาณอย่างชัดเจน เช่น ความยาว ความกว้าง หรือของเส้นกราฟ แผนภาพ หรือแผนภูมิจะสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณของข้อมูลที่เกี่ยว ข้อง เช่น คนส่วนใหญ่จะพิจารณาว่าเส้นกราฟที่ยาวกว่าแสดงถึงค่าที่มากกว่าเส้นกราฟที่สั้น นอกจากนี้ อาจแสดงข้อมูลเชิงปริมาณด้วยขนาดของพื้นที่ และสีที่ต่างกัน เช่น รูปที่ 4.10 แสดงตัวอย่างการคัดเลือกนักเรียนเข้าแข่งขันออกเป็น 3 กลุ่ม (มิติที่ 1) โดยสี่เหลี่ยมเล็กแทนนักเรียน 1 คน แต่นักเรียนทั้ง 3 กลุ่มนี้เป็นคนที่ซ้ำกัน (มิติที่ 2) จึงแสดงด้วยสีที่ต่างกัน
4. การแสดงลำดับ (order) เพื่อให้ผู้รับสารสามารถตีความ และเข้าใจภาพหรือแผนภูมิที่นำเสนอได้ง่าย มักนิยมใช้เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปมากหรือจากมากไปหาน้อย เช่น จัดกลุ่มอายุและนำเสนอจากน้อยไปหามาก เริ่มจาก 0-10 ปี 11-12 ปี ตามลำดับต่อ ๆ ไป โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์จะมองภาพหรือตีความข้อมูลจากการมองเห็นลำดับในรูปแบบจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง ในลักษณะตัว Z ดังนั้นหากต้องการเน้นข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดให้วางไว้บนสุดส่วนข้อมูลที่เหลือให้เรียงลำดับความสำคัญลดลงตามค่าที่ได้จัดกลุ่มไว้ รูปที่ 4.11 แสดงการจัดลำดับของขนมที่ลูกค้าไม่ชอบมากที่สุด จึงไม่ถูกเลือกซื้อ กรณีนี้แสดงถึงการให้ความสำคัญของขนมที่ไม่เป็นนิยมไว้ลำดับแรก
4. การแสดงลำดับ (order) เพื่อให้ผู้รับสารสามารถตีความ และเข้าใจภาพหรือแผนภูมิที่นำเสนอได้ง่าย มักนิยมใช้เรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปมากหรือจากมากไปหาน้อย เช่น จัดกลุ่มอายุและนำเสนอจากน้อยไปหามาก เริ่มจาก 0-10 ปี 11-12 ปี ตามลำดับต่อ ๆ ไป โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์จะมองภาพหรือตีความข้อมูลจากการมองเห็นลำดับในรูปแบบจากซ้ายไปขวาและบนลงล่าง ในลักษณะตัว Z ดังนั้นหากต้องการเน้นข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดให้วางไว้บนสุดส่วนข้อมูลที่เหลือให้เรียงลำดับความสำคัญลดลงตามค่าที่ได้จัดกลุ่มไว้ รูปที่ 4.11 แสดงการจัดลำดับของขนมที่ลูกค้าไม่ชอบมากที่สุด จึงไม่ถูกเลือกซื้อ กรณีนี้แสดงถึงการให้ความสำคัญของขนมที่ไม่เป็นนิยมไว้ลำดับแรก
ชวนคิด พิจารณาการสื่อสารด้วยภาพทางด้านซ้ายและด้านขวา แบบใเข้าใจง่ายกว่า เพราะเหตุใด