สาระสำคัญ
2.4 ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน หรือประวัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีชื่อของบุคคลนั้น หรือมีหมายเลขรหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวบุคคลนั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ ข้อมูลลักษณะเสียง หรือรูปถ่าย
ข้อมูลเหล่านี้ถ้ามีผู้อื่นทราบนอกจากเจ้าของข้อมูลแล้ว อาจทำให้สามารถปลอมแปลงตัวตนของเราได้จึงต้องระมัดระวังไม่ให้คนอื่นนำไปใช้ได้ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้อาจมีมูลค่าทางธุรกิจ เช่น บริษัทสินเชื่อสามารถใช้ข้อมูลฐานะการเงินเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าอาจสนใจ
ถ้าบริษัทขายยามีข้อมูลประวัติสุขภาพก็อาจจะเลือกโฆษณายาที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเจ็บป่วยของเจ้าของข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคลหลายอย่างอาจบ่งชีถึงทัศนคติและความเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น ในระบบเครือข่ายสังคม ข้อมูลการกด Link ต่อเรื่องต่าง ๆ สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าประเด็นเชิงสังคมด้านใดที่เจ้าของข้อมูลสนใจ ถ้าทีมงานหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ก็สามารถออกแบบการโฆษณานโยบายของผู้สมัครให้ดึงดูดเจ้าของข้อมูล และอาจจะทำให้เจ้าของข้อมูลตัดสินใจเลือกผู้สมัครของพรรคนั้นในการเลือกตั้งได้
โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเป็นความลับอย่างไรก็ตามในบางกรณีข้อมูลอาจถูกเข้าถึงโดยบุคคลภาย นอกได้เนื่องจากความผิดพลาดของการรักษาความปลอดภัยหรือความผิดพลาดและประมาทเลินเล่อของเจ้าของข้อมูลเองยกตัว อย่างเช่น กรณีของบริษัทหนึ่ง ที่ใช้เกมคำถามในระบบเฟชบุ๊ก เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้และเพื่อนผู้ใช้เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทำให้มีผลกระทบถึงผู้ใช้กว่า 87 ล้านคนทั่วโลกและบริษัทหาเสียงของพรรคการเมืองหนึ่งก็นำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ในการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2016
1. บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้คนทำแบบสอบ ถามเพื่อยอมให้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลผ่านเฟซบุ๊ก
2. บริษัทรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบ เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเกิด เพศ และการกด Like ในเฟซบุ๊กซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงข้อมูลเพื่อนของ
ผู้ทำแบบสอบถาม
3.บริษัทจะใช้ข้อมูลจากแบบ สอบถามเทียบกับการกด Like ทำให้สามารถทราบบุคลิกพฤติกรรมของผู้ใช้ เฟซบุ๊ก
4. ข้อมูลถูกนำไปใช้ในการประมวลผล และทำให้มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้ เช่น การโฆษณาหาเสียงทางการเมือง
1.ในฐานผู้ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบเครือข่ายสังคม
2.ในฐานะผู้วิเคราะห์ข้อมูล
3.ในฐานะผู้ให้บริการที่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้
กล่าวถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่มีหน่วยงานหรือองค์กรเป็นผู้เผยแพร่แบบสสารธารณะ ข้อมูลจะต้องถูกจัดเตรียม โดยต้องมีการทำความสะอาดข้อมูล ตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นมีความผิดปกติหรือไม่ แปลงข้อมูลให้เป็นระเบียบ และเชื่อมโยงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่นำมาใช้ได้ เมื่อจัดเตรียมข้อมูลพรอ้มแล้วขั้นตอนต่อไปเป็นการสำรวจข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์และผลลัพธ์เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล โดยอาจทำข้อมูลให้เป็นภาพ กราฟ แผนภูมิ นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมและนำมาสำรวจเบื้องต้นนั้น ต้องระวังถ้าเป็นข้อมุลส่วนบุคคล หรือข้อมุลที่เป็นความลับที่ไม่สามารถเปิดเผยได้