4.2 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (data visualization)
4.2 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (data visualization)
4.2 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (data visualization)
ข้อมูลที่เราได้มานั้นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของจำนวนและมีเป็นจำนวนมาก แม้ว่าการตอบคำถามที่เราสนใจหรือสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอ จะมีอยู่แล้วในข้อมูลเหล่านั้น แต่ยากที่จะทำความเข้าใจหรือไม่อาจสื่อสารได้โดยง่าย
สมมุติง่าบริษัทนำเที่ยวแห่งหนึ่งต้องการที่จะเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือนักท่องเที่ยว เช่น การเตรียมไกด์นำเที่ยวการเตรียมสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับชาติต่าง ๆ ทางบริษัทจึงนำข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดังตารางที่ 4.2 มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบาย จะเห็นได้ว่า การตอบคำถามต่าง ๆ เช่น นักท่องเที่ยวภูมิภาคไหนมีมากที่สุด ภูมิภาคไหนมีการเพิ่มขึ้นสูงสุด หรือคำถามอื่น ๆ เพื่อช่วยในการกำหนดนโยบาย อาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ จะช่วยตอบคำถามประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนขึ้น
4.2.1 แผนภูมิรูปวงกลม (pie chat)
แผนภูมิวงกลมสร้างโดยการเขียนรูปวงกลมและแบ่งวงกลมออกเป็นสัดส่วนตามจำนวนข้อมูล ซึ่งควรเป็นจำนวนข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มไม่มากนัก แผนภูมิรูปวงกลมสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงปริมาณแบบสัดส่วนร้อยละได้เป็นอย่างดี ดังตัวอย่างที่ 4.2 ที่แสดงสัดส่วนปริมาณนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคต่าง ๆ ในปี 2558 จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวมากที่สุดเมื่อเทียบกับสัดส่วนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น ๆ รวมกัน
4.2.2 แผนภูมิแบบแท่ง (bar chat)
แผนภูมิแท่งแสดงความแตกต่างในเชิงปริมาณได้ชัดเจนจึงใช้เพื่อแสดงปริมาณข้อมูลแต่ละส่วน แผนภูมิแท่งจะเรียงข้อมูลจากซ้ายไปขวาทำให้เห็นการเรียงตัวในเชิงลำดับโดยปกตินิยมเรียงตามแนวนอนดังตัวอย่างในรูปที่ 4.4 ที่แสดงปริมาณนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกและยุโร)จากปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2558
จากแผนภูมิแท่งจะเห็นได้ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกมีมากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรปประมาณ 1 เท่าในปี 2554 และมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจากยุโรป มีจำนวนค่อนข้างคงที่จากรูปที่ 4.4 บริษัทอาจมีความสนใจนักท่องเที่ยวที่มาจากเอเชียตะวันออก จึงไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวแยกตามประเทศดังรูปที่ 4.3 ซึ่งจะนำมาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
4.2.3 กราฟเส้น (line graph) กราฟเส้นแสดงมิติของการเปลี่ยนแปลงได้ดี โดยใช้พื้นที่แสดงข้อมูลแต่ละรายการน้อยกว่าแผนภูมิแท่งมากทำให้เสนอจำนวนราย การข้อมูลได้มากกว่าดังรูปที่ 4.5 แสดงปริมาณและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนนักท่องเที่ยวของข้อมูลในตารางที่ 4.3 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอัตราดารเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากจีนและกลุ่มอาเซียนสูงกว่าประเทศอื่น ๆ จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศจีนนั้นนอกจากจะมีปริมาณนักท่องเที่ยวมากแล้วยังมีอัตราการเพิ่มสูงอีกด้วย
4.2.4 แผนภาพการกระจาย (scatter plot) แผนภาพการกระจายแสดงการกระจายของข้อมูลแล้วยังแสดงการเปรียบเทียบได้ดีจากรูปที่ 4.6 จะเห็นได้ว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวจีนมากกว่ารายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียนและประเทศอื่น ๆ มากในการเขียนแผนภาพการกระจาย อาจมีการลากเส้นตรงที่แสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงที่คงที่ เช่น เส้นประในรูปที่ 4.6 แสดงรายได้ต่อหัวจากนัดท่องเที่ยวประเทศอื่น ๆ มาก
4.2.5 การเลือกใช้แผนภาพ การจะเลือกใช้แผนภาพใดไม่ว่าจะเป็น แผนภูมิวงกลม แผนภูมิแท่ง กราฟเส้น และแผนภาพการกระจายขึ้นอยู่กับข้อมูลและจุดประสงค์ของการนำเสนอซึ่งสามารถสรุปวิธีการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับแผนภาพแต่ละชนิดได้ดังตารางที่ 4.4
กิจกรรมที่ 4.2 นำเสนออย่างมืออาชีพ
จากชุดข้อมูลที่นักเรียนได้สำรวจและวิเคราะห์ ควรนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพชนิดใด