สาระสำคัญ
จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีจนเข้าสู่ยุคของข้อมูลและสารสนเทศที่มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทุกวันทุกภาคส่วนมีการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาล การดำเนินการกับข้อมูลเหล่านี้ผ่านกระบวนการวิทยาการข้อมูลซึ่งประกอบด้วย การตั้งคำถาม การก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลสู่ผู้ใช้กลุ่ม เป้าหมาย ร่วมกับการคิดเชิงออกแบบนั้น สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการใช้ข้อมูลเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์และในด้านการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นอดีต เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อมูล หมายถึง เอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปแบบของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่าง ๆ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ในยุคของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิมทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่าย แต่การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การใช้แผนที่กระดาษในรูปแบบเดิมจะแสดงตำแหน่งของถานที่ต่าง ๆ แต่จะไม่แสดงข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้แต่ระบบแผนที่นำทาง
(Global Positioning System: GPS) นอกจากจะแสดงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ แล้วยังมีข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการจราจร ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางถึงจุดหมายช่วยทำให้ผู้ใช้วางแผนการเดินทางได้อย่างแม่น ยำ เป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ในปัจจุบันเราไม่เป็นเพียงผู้ใช้ประโยชน์ข้อมูลดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมสร้างข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การอัพโหลดรูปภาพส่วนตัว การส่งอีเมลในแต่ละวัน การโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ การส่งต่อข้อความ โดยผ่านการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั้งเซ็นเซอร์ที่ติดกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้คนอื่นสามารถนำข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้อาจจัดได้ว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ (asset) ที่มีความสำคัญ แต่ถ้าข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำมาประมวลผลก็จะไม่เกิดคุณค่าใด ๆ ดังเช่นคำกล่าวว่า "ข้อมูลนั้นมีค่าดั่งน้ำมันดิบ"
การที่เราแชร์ข้อมูลของเรา เช่น ภาพส่วนตัว อีเมล การโพสต์ข้อความ นักเรียนคิดว่าจะมีผู้นำข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ต่ออย่างไรได้บ้าง ?
เกร็ดน่ารู้ : นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientist)
ในด้านธุรกิจข้อมูลมีประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนการตลาด เช่น ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อจัดรายการส่งเสริมการขายสินค้า การจัดวางตำแหน่งในร้านและการเลือกสินค้าเพื่อนำมาจัดโปรแกรมลดราคานักเรียนคิดว่าร้านสะดวกซื้อเหล่านี้เข้าถึงข้อมูลของกลุ่มลูกค้าและทราบความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร
กิจกรรมที่ 1.1 ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ
เมื่อนักเรียนศึกษาจบเนื้อหาในหัวข้อที่ 1.1 ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ แล้วให้ตอบคำถามต่อไปนี้ในชีวิตประจำวันเรามีการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองอยู่ตลอดเวลา ให้อ่านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลต่อไปนี้และตอบคำถาม
“จาวามีปัญหาเรื่องความอ้วนและต้องการลดน้ำหนัก โดยการวิ่งรอบสนามโรงเรียนทุกวัน แต่ปรากฎว่าน้ำหนักยังเท่าเดิม” จาวาจึงค้นหาข้อมูลและพบข้อมูลดังกราฟ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่มีผู้จัดเก็บรวมรวมไว้โดยพบว่าการวิ่งที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพนั้นจะต้องวิ่งจนทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (heart Rate) อยู่ระหว่าง 70-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Maximum heart Rate : MHR) และต้องวิ่งติดต่อกันอย่างน้อย 30 นาที ให้นักเรียนนำข้อมูลดังกล่าวไปออกแบบโปรแกรมการพัฒนาการวิ่งของจาวา เพื่อวางแผนการลดน้ำหนัก
1.จะนำข้อมูลอะไรบ้างจากสถานการณ์ข้างต้นที่จะช่วยให้จาวาพัฒนาการการวิ่งของตนเอง
2.ถ้านักเรียนต้องการลดน้ำหนักและใช้ข้อมูลจากกราฟข้างต้นควรจะวิ่งให้ได้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นกี่ครั้ง/นาที จึงจะเท่ากับ 70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด