สาระสำคัญ
การนำข้อมูลมาใช้เพื่อสื่อสาร ถึงแม้จะทำให้เข้าใจปัญหาหรือสถานการณ์มากยิ่งขึ้นแต่ถ้าไม่เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ ก็จะทำให้การนำเสนอข้อมูลผล ลัพธ์ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากผู้ใช้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่นำเสนอนั้นได้ เช่น ข้อมูลที่นำเสนอมีปริมาณมากหรือละเอียดเกินความต้องการ เมื่อผู้ใช้พิจารณาข้อมูลแล้วคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับตนเอง ข้อบกพร่องนี้อาจทำให้การพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) คือ กระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ให้ถูกจุด ตลอดจนพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ที่ตั้งไว้ เพื่อที่จะหาวิถีทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด การแก้ปัญหาบนพื้นฐานกระบวนการนี้จะเน้นยึดไปที่หลักของผู้ใช้/ผู้บริโภค (User-centered) เป็นหลัก โดยมีเจตนาในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ตลอดจนแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึงเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย
ขั้นแรก ต้องทำความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมองเสียก่อน ตลอดจนเข้าใจผู้ใช้ กลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการแก้ไข เพื่อหาหนทางที่เหมาะสมและดีที่สุดให้ได้ การเข้าใจปัญหาอาจเริ่มด้วย การตั้งคำถาม สร้างสมมติฐาน กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาให้ถ้วนถี่ เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนให้ได้ การเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้ง ถูกต้องนั้น จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นและได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม
ขั้นที่สอง เมื่อเรารู้ถึงข้อมูลปัญหาที่ชัดเจน ตลอดจนวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้วให้นำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กำหนดหรือบ่งชี้ปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปฎิบัติการต่อไป รวมถึงมีแก่นยึดในการแก้ไขปัญหาอย่างมีทิศทาง
ขั้นที่สาม การระดมความคิดนี้คือการนำเสนอแนวความคิด ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไม่มีกรอบ จำกัดควรระดมความคิดในหลากหลายมุมมองหลากหลายวิธีการ ออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่จะเป็นฐานข้อมูลในการที่เราจะนำไปประเมินผลเพื่อสรุปเป็นความคิดที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเกิดจากความคิดเดียวหรือเลือกความคิดเดียว แต่เป็นการผสมผสานหลากหลายความคิดให้ออกมาเป็นแนวทางสุดท้ายที่ชัดเจนก็ได้ การระดมความคิดนี้ยังช่วยให้เรามองปัญหาได้อย่างรอบด้านและละเอียดขึ้นด้วย รวมถึงหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบได้ด้วยเช่นกัน
ขั้นที่สี่ หากเป็นเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมขั้น Prototype นี้ก็คือการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริงก่อนที่จะนำไปผลิตจริงสำหรับในด้านอื่น ๆ ขั้นนี้ก็คือการลงมือปฎิบัติหรือทดลองทำจริงตามแนวทางที่ได้เลือกแล้ว ตลอดจนสร้างต้นแบบของปฎิบัติการที่เราต้องการจะนำไปใช้จริง
ขั้นที่ห้า ทดลองนำต้นแบบหรือข้อสรุปที่จะนำไปใช้จริงมาปฎิบัติก่อนเพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผลเสร็จแล้วก็นำเอาปัญหาหรือข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้จริงอีกครั้งนั่นเอง
1.มีทางเลือกที่หลากหลาย : การคิดบนพื้นฐานข้อมูลที่มีหลากหลาย ตลอดจนพยายามคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียที่ดีออกมาหลากหลายรูปแบบ ทำให้เรามองเห็นอะไรรอบด้าน และมีตัวเลือกที่ดีที่สุด ก่อนนำไปใช้แก้ปัญหาจริง หรือนำไปปฎิบัติจริง
2.มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด : เมื่อเรามีตัวเลือกหลากหลายเราก็จะรู้จักคิดวิเคราะห์ และการคิดวิเคราะห์นี้เองจะทำให้เราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดได้ มีประสิทธิภาพมากกว่า
3.ฝึกความคิดสร้างสรรค์ : การแชร์ไอเดีย ตลอดจนระดมความคิดนั้น จะทำให้สมองเราฝึกคิดหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ หลากหลายมุมมอง และทำให้เรารู้จักหาวิธีแปลก ๆ ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ที่เป็นพื้นฐานที่ดีในการแก้ปัญหา ตลอดจนการบริหารจัดการเช่นกัน
4.เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ : มีการคิดมากมายหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนแชร์ไอเดียดีๆ มากมาย การที่เราได้พยายามฝึกคิดจะทำให้เรามักค้นพบวิธีใหม่ ๆ เสมอ หรือเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน
5.มีแผนสำรองในการแก้ปัญหา : การคิดที่หลากหลายวิธี นอกจากจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์เลือกวิธีที่ดีที่สุดได้แล้วนั้น ก็ยังทำให้เรามีตัวเลือกสำรองไปในตัว โดยผ่านกระบวนการลำดับความสำคัญมาเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราสามารถเลือกใช้แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีหากวิธีการที่เลือกไม่ประสบความสำเร็จ
6.องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ : เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบแบบแผนแล้วจะปลูกฝังระบบการทำงานที่ดี นั่นย่อมส่งผลให้องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรและองค์กรไปในตัว
7.ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหา ตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน : ปกติเราอาจจะมีการหาทางแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไม่มีการหาสาเหตุ หรือไม่มีการมองรอบด้าน กระบวนการนี้จะทำให้เรามองอย่างรอบคอบและละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และแก้ไขได้ตรงจุด
สรุป
จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีจนเข้าสู่ยุคของข้อมูลและสารสนเทศที่มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นทุกวันทุกภาคส่วนมีการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามหาศาลการดำเนินการกับข้อมูลเหล่านี้ผ่านกระบวนการวิทยาการข้อมูลซึ่งประกอบด้วย การตั้งคำถาม การก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลสู่ผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการคิดเชิงออกแบบนั้น สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการใช้ข้อมูลเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับบริการหรือผลิตภัณฑ์และในด้านการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นอดีต เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
กิจกรรมที่ 1.4 คิดแบบนักออกแบบ
สถานการณ์ : ต้องการหาวิธีช่วยกลุ่มแม่บ้านในชุมชนขายไก่ย่าง ส้มตำ แบ่งกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วย ผู้ซื้อ ผู้ขาย และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล โดยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเก็บข้อมูลความต้องการและผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ จากกลุ่มผู้ซื้อ ผู้ขาย เพื่อตอบคำถามต่อไปนี้
1. ใครคือกลุ่มเป้าหมาย
2. ผลิตภัณฑ์เป็นที่ถูกใจผู้ซื้อหรือไม่เพราะเหตุใด
3. จะมีแนวทางการทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ขายดีขึ้นได้อย่างไร
4. ข้อมูลเพิ่มเติมมีอะไรบ้างและหาได้จากที่ใด
****การเก็บข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เก็บจากผู้ซื้อ เช่น ไก่ย่างหรือส้มตำแบบไหน รสชาติแบบใด ที่ลูกค้าชอบรับประทาน ซื้อครั้งละกี่ไม้ หรือกี่จาน เก็บจากผู้ขายผู้ขาย เช่น ขายไก่ย่างหรือขายมตำแบบไหน นั่งรับประทานที่ร้านหรือสั่งกลับไปรับประทานที่บ้าน เน้นขายให้กับลูกค้าแบบใด